คนค้ำประกันรถยนต์ ต้องมีอะไรบ้าง คุณสมบัติ เอกสาร ความรับผิดชอบ

คนค้ำประกันรถยนต์ ต้องมีอะไรบ้าง คุณสมบัติ เอกสาร ความรับผิดชอบ

05/11/2019

อ่าน : 531 ครั้ง

ในการกู้ซื้อรถยนต์​ ซื้อรถใหม่ รถป้ายแดง นอกจากทางไฟแนนซ์จะต้องให้ผู้กู้ซื้อรถเตรียมเอกสารต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการขอสินเชื่อแล้ว ถ้าผู้กู้คุณสมบัติ หรือมีความสามารถในการชำระหนี้ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทางไฟแนนซ์มักจะให้ผู้กู้หาบุคคลมาเป็นผู้ค้ำประกันรถยนต์ เพิ่มเติมด้วย ซึ่งคนค้ำประกันรถยนต์ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และหน้าที่ความรับผิดชอบมีอะไรบ้าง ไปติดตามกัน

คนค้ำประกัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  1. ต้องบรรลุนิติภาวะ หรือมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  2. มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
  3. มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้
  4. คนค้ำประกันจะเป็นใครก็ได้ คนในครอบครัว ญาติ เพื่อนฟูง หรือคนรู้จัก
  5. ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน เช่น ค้างชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ

หน้าที่ความรับผิดชอบของคนค้ำประกัน

มาดูนิยมของคำว่า คนค้ำประกัน หรือ ผู้คำประกันกันก่อน ตามกฏหมายก็หมายถึง บุคคลที่สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก้เจ้าหน้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าคนที่ผ่อนรถเขาไม่จ่าย คนค้ำประกันก็ต้องจ่ายแทนทั้งหมด นั่นเองครับ และหากกรณีมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น คนค้ำประกันก็จะถูกฟ้องร้องเช่นเดียวกัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อยากจะบอกเพิ่มเติมเอาไว้ว่า คนค้ำประกันทุกคน อาจจะคิดในใจว่า เราอยากช่วยเหลือเพื่อน ญาติ หรอคนในครอบครัวให้สามารถกู้ซื้อรถได้ มองว่าเป็น “การช่วยเหลือ” แต่อยากให้เปลี่ยนมุมมองเรื่องนี้ใหม่จาก “การช่วยเหลือ” มาเป็น “การรับผิดชอบแทน” เพราะเกิดอะไรขึ้น เราต้องรับผิดชอบแทนทั้งหมด ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ดังนั้นก่อจะไปทำสัญญาเป็นคนค้ำประกันให้ใคร ตัวคนค้ำประกันต้องนึกเสมอว่า หากวันใดวันหนึ่งผู้กู้ เขาไม่จ่าย เราสามารถจ่ายแทนได้หรือไม่ ก็คือ รับผิดชอบแทนทั้งหมดได้หรือไม่ ถ้าได้ก็เซ็นต์สัญญาได้เลยครับ

ทีนี้มาดูถึงรายละเอียดความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันกันต่อ

  • ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ เกินกว่า 60 วัน เจ้าหนี้จะส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ค้ำประกันให้รับทราบ โดยผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบหนี้ตามสัญญาที่ระบุเอไว้ โดยในสัญญาค้ำประกันจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
  1. สัญญาคำ้ประกันแบบไม่จำกัดจำนวน ผู้ค้ำประกันจะต้องชดใช้หนี้เท่ากับยอดที่เป็นหนี้ทั้งหมด
  2. สัญญาค้ำประกันแบบจำกัดความรับผิด ผู้คำประกันจะต้องชดใช้หนี้ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
  • เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ครบตามจำนวนแล้ว สามารถไปไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้ได้พร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหาย
  • กรณีทำสัญญาคำประกันแบบจำกัดความรับผิด หากหนี้ยังไม่หมด ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในส่วนที่เหลือทั้งหมด

คนค้ำประกันต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชาการ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หนังสือรับรองการทำงาน
  4. ใบทะเบียนสมรส
  5. หนังสือรับรองเงินเดือน
  6. สลิปเงินเดือน หรือเอกสารแสดงรายได้
  7. รายการเดือนบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

ย้ำกันอีกครั้ง การเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อทำสัญญาแล้ว เราก็เหมือนเป็นลูกหนี้ หากเกิดอะไรขึ้นก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดครับ ดังนั้นจะไปเป็นคนค้ำประกันให้ใคร ต้องพิจารณาให้ดีมากๆ และการที่ผู้กู้ไม่สามารถกู้เดี่ยวๆ ได้ ต้องใช้คนค้ำประกัน ก็บอกเป็นนัยๆ ให้ทราบว่า ผู้กู้ยังไม่มีความสามารถเพียงพอนั่นเอง หากไม่ได้มีความจำเป็นใช้รถมากมาย ก็อาจจะแนะนำให้ผู้กู้ เก็บเงินดาวน์เพิ่มขึ้นให้มากกว่าเดิม ส่วนใหญ่จะต้องมากกว่า 25% ขึ้นไป ถึงจะไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ถ้าเอาสบายใจที่ส่วนใหญ่จะกู้ได้ไม่มีปัญหาก็ดาวน์ที่ 40% ครับ ฝากเป็นข้อมูล และฝากเป็นข้อเตือนใจสำหรับทุกท่านครับ

แสดงความคิดเห็น

Add a comment

ISUZU D-MAX V-Cross 3.0 Ddi M 4-door A/T
1,257,000 บาท
2024
อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Rev Tronic
ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ISUZU D-MAX V-Cross 3.0 Ddi ZP 4-door
1,149,000 บาท
2024
เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ISUZU D-MAX V-Cross 3.0 Ddi Z 4-door
1,034,000 บาท
2024
เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ISUZU D-MAX V-Cross 3.0 Ddi Z 2-door
917,000 บาท
2024
เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ISUZU D-MAX Hi-Lander 3.0 Ddi M A/T 4-door
1,144,000 บาท
2024
อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Rev Tronic
ขับเคลื่อน 2 ล้อ
อีซูซุคลับ เป็นกลุ่มคนใช้รถอีซูซุในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ระหว่างสมาชิก
Copyright ISUZUCLUB.COM © 2023. All rights reserved.